ประวัติโรงเรียน

พ.ศ.

2505

โรงเรียนศรีสุวิช ตั้งอยู่บนถนนสุขุมวิท กิโลเมตรที่ 133 เลขที่ 555 หมู่ที่ 5 ตำบลบางละมุง อำเภอบางละมุง จังหวัดชลบุรี บนเนื้อที่ 8 ไร่ 37 ตารางวา โรงเรียนได้ก่อตั้งและเปิดทำการสอนครั้งแรกเมื่อปี พ.ศ. 2505 โดยมี “นางสำเร็จ ดำรงหัด” เป็นผู้รับใบอนุญาตคนแรกของโรงเรียน

พ.ศ.

2529

ได้โอนกิจการโรงเรียนศรีสุวิชให้กับ “พันตำรวจโทประสาน ฟักฤกษ์” ซึ่งขณะนั้น โรงเรียนศรีสุวิช มีนักเรียนเพียง 112 คนและครู 8 คน มีอาคารเรียน 2 หลัง โดย พันตำรวจโท ประสาน ฟักฤกษ์ ได้ดำรง ตำแหน่งเป็นผู้รับใบอนุญาต และผู้อำนวยการ ตามใบอนุญาตเลขที่ 10/2529 ตั้งแต่วันที่ 14  ตุลาคม 2529 มี นางนงลักษณ์ ฟักฤกษ์ ดำรงตำแหน่ง เป็นผู้จัดการโรงเรียน

พ.ศ.

2541

นางสาวประถมาภรณ์ ฟักฤกษ์ ดำรงตำแหน่งเป็นครูใหญ่ ได้มีการ บริหารงานและพัฒนาระบบการจัดการศึกษาของ โรงเรียน ให้เกิดคุณภาพและมีมาตรฐาน ในปีการศึกษา 2546 โรงเรียนศรีสุวิชได้ขยายการจัดการศึกษาโดยเปิดการจัดการ ศึกษาใน ชั้นมัธยมศึกษาตอนต้น

พ.ศ.

2551

Srisuvit School restructured the school’s administration, according to the Private School Act 2007.  Mr. Prasan was the licensee and the chairman of the school board of directors, Mrs. Nongluk Fakroek was the manager, and Ms. Pattamaporn Fakroek held the position of Director of Srisuvit School. The administration was in the form of a school administration committee

พ.ศ.

2553

นางสาวประถมาภรณ์ ฟักฤกษ์ ดำรงตำแหน่ง ผู้รับใบอนุญาต และผู้อำนวยการโรงเรียน นับจากวันที่ 20 กรกฎาคม 2553 ตามเลขที่ หนังสือใบอนุญาต ศธ. (3) 004/2553 เพื่อให้การบริหารงานและการจัดการภายในโรงเรียนเป็นไปด้วยความคล่องตัวและเกิดประสิทธิภาพอย่างต่อเนื่อง โดยนางนงลักษณ์ ฟักฤกษ์ ดำรงตำแหน่งเป็นผู้จัดการ โรงเรียน

พ.ศ.

2558

นางสาวประถมาภรณ์ ฟักฤกษ์ ดำรงตำแหน่งเป็นผู้รับใบอนุญาต ผู้อำนวยการ และผู้จัดการโรงเรียน ตั้งแต่วันที่ 14 กรกฎาคม 2558 เป็นต้นมา

พ.ศ.

2564

โรงเรียนศรีสุวิชได้ทำการปรับปรุงอาคารเรียนและปรับภูมิทัศน์ในพื้นที่ส่วนต่าง ๆ  การพัฒนาโรงเรียนด้านอาคารสถานที่ทั้งภายในและภายนอกห้องเรียน ปรับสภาพแวดล้อมให้เอื้อต่อการเรียนรู้ ติดเครื่องปรับอากาศครบทุกห้องเรียน สร้างสนามกีฬากลางแจ้ง จัดให้มีเครื่องมือทางเทคโนโลยีที่ทันสมัยที่ครบครัน เสริมสร้างทั้งด้านสุขภาพกายและสุขภาพใจให้กับลูกๆ ทำให้ห้องเรียนของเราเป็นห้องเรียนที่มีชีวิต